History of MTV
เอ็มทีวี (MTV) ย่อมาจาก Music Television เป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับวัยรุ่น โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่ นิวยอร์ก แรกเดิมจะเน้นเปิดมิวสิกวีดีโอ ต่อมาเพิ่มความหลายหลาย สร้างเรียลลิตี้โชว์จำนวนมากและงานอวอร์ดส ต่างๆโดยเอ็มทีวีได้กลายเป็น Pop Culture ของวัยรุ่นอเมริกัน และทั่วโลกในเวลาต่อมา
เอ็มทีวีออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1981 ตั้งแต่ที่เอ็มทีวีได้ออกอากาศ มีสโลแกน
"I want my MTV" ที่เป็นที่จดจำ, คอนเซ็บของวีเจเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย,การแนะนำเพลงผ่านมิวสิกวิดีโอ,เป็น ศูนย์กลางระหว่างแฟนเพลงและตัวศิลปิน รวมถึงเป็นศูนย์กลางของข่าวสารดนตรี เทศกาลดนตรี การประชาสัมพันธ์ เอ็มทีวีได้มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมดนตรีเป็นอย่างมาก
เอ็มทีวีถือเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลที่สุดจากบทสรุปของ BusinessWeek กลับยกให้ MTV ด้วยจำนวนผู้ชมสูงถึงกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก[1]MTV คือบริษัทที่เริ่มต้นจากการจับมือของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่คือ Warner Brother กับ American Express หรือ AMEX รวมเรียกบริษัทใหม่นี้ว่า Warner Amex Satellite Entertainment Company (WASEC) โดยมี Jack Schneider เป็นประธาน ซึ่งเขามองว่า ช่องรายการเคเบิลที่เปิดแต่มิวสิกวิดิโอ ถือเป็นโอกาสที่ดี โดยเขาให้เหตุผลในครั้งเริ่มต้นกิจการว่า
“ถ้าคุณมี DJ ไมโครโฟน เครื่องส่งสัญญาณ และเพลงดังๆในกระเป๋าซัก 40 เพลง คุณก็สามารถมีสถานีวิทยุเป็นของตัวเองได้ แล้วทำไมเราจะไม่เอา DJ มาออกทีวีซะเลยละ?”
ขณะที่ Steve Casey ผู้กำกับสถานีในยุคเริ่มต้นเล่าความหลังให้ฟังว่า “มีแรงกดดันมหาศาลที่ทำให้เราต้องทำในสิ่งที่แตกต่าง แต่สิ่งที่ทำจะต้องมีความเป็นไปได้ ในที่สุดเราก็ได้ MTV แม้ว่าไอเดียนี้จะดู “เจ๋ง” แต่กลับไม่มีใครซักคนเลยที่จะพูดว่า “มันดีนี่” แม้แต่ผมเองก็ไม่ชอบแนวคิดนี้เท่าไหร่ แต่ในที่ประชุมก็ไม่มีใครที่จะเสนอไอเดียที่ดีกว่านี้อีกแล้ว และนี่คือ จุดเริ่มต้นของ MTV”
ขณะที่โลโก้นั้นถูกออกแบบจากนักออกแบบอิสระชื่อ Patti Rogoff ซึ่งเขานำตัวเอ็มเป็นตัวบล๊อกๆแบบ 3 มิติ กับคำว่า TV ที่ดูคล้ายๆกับกิ่งไม้ทาบกัน โดยทาง MTV เลือกที่จะเปิดตัวโลโก้ โดยนำภาพเมื่อครั้งที่ Neil Armstrong เหยียบดวงจันทร์เป็นการเปิดตัวโลโก้
Tom Freston CEO คนปัจจุบันให้ความเห็นว่า “เรารู้ว่า เราต้องการสัญลักษณ์ที่แตกต่างออกไปจากที่เคยเห็นในทีวีทั้งหมด แต่เรารู้ว่าเราไม่มีเงิน เราจึงเลือกที่จะไปที่ Nasa พร้อมกับขอรูปนั้นมาทำการติดโลโก้เข้าไปในธงสหรัฐที่ปักบนดวงจันทร์ ผมคิดว่า นี่แหละคือแนวคิดแห่ง ร๊อกแอนด์โรลอย่างแท้จริง นั่นคือ เราเอาเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติมาฉีกมันออกเป็นชิ้นๆซะ”
ขณะที่ Sue Steinberg โปรดิวเซอร์ อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการเลือก VJ ว่า “เราต้องการ VJ ที่ เป็นส่วนหนึ่งกับผู้ชม อืมม... คือต้องเป็นคนที่ไม่เคยพูดในรายการว่า สวัสดีครับ ขอเชิญท่านผู้ชมรับชมรายการจากเรา แต่จะต้องเป็น เฮ้ย! เราจะมานั่งเป็นเพื่อนผู้ชมไปซัก 2-3 ชั่วโมงนะ ประเด็นสำคัญก็คือคำว่า “อยู่กับคุณ” เพราะเราต้องการให้ผู้ชมมาร่วมมันส์ไปด้วยกันมากกว่า” โดย VJ ในยุคเริ่มต้นจะมีตั้งแต่ดารา DJจาก สถานีวิทยุ รวมไปถึงคนหนุ่มสาวหน้าใหม่ๆ ห้องอัดก็จัดแต่งให้เหมือนกับห้องนอนวัยรุ่นเล็กๆ ธรรมดา แต่สิ่งสำคัญคือ ในห้องอัดนั้นจะต้องมีสิ่งที่น่าสนใจ นอกจากนี้ VJ จะ ต้องมีบุคลิกภาพที่เพิ่มคุณค่าให้แก่รายการ ไม่ว่าเขาจะไปสัมภาษณ์นักร้อง หรือจะทำอะไรก็ตาม เพราะหมายความว่า พวกเขากำลังแนะนำแบรนด์และสร้างจุดเด่นให้กับแบรนด์อีกด้วย
เอ็มทีวีไทยแลนด์
เอ็มทีวีไทยแลนด์ (MTV Thailand) เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย ภายใต้การบริหารของบริษัท เวรี่ อินคอโปเรชั่น จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือ เพลงพันธ์ทิพย์ ของโลโซ สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของเอ็มทีวีไทยแลนด์คือวัยรุ่นกินอาณาเขตตั้งแต่วัย รุ่นตอนต้น-ตอนปลาย อายุตั้งแต่ 12-25 ปี และกลุ่มเป้าหมายรองคืออายุตั้งแต่ 25-35 เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศครั้งแรกบนช่อง 49 เครือยูบีซี ต่อมาย้ายมาช่องยูบีซี 32 ต่อมา เอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช[1] หรือรับชมผ่านเคเบิลทีวีท้องถิ่น ขณะนี้เอ็มทีวีไทยแลนด์ ได้ย้ายการออกอากาศจากสไมล์ทีวี เน็ตเวิร์ค โดยได้กลับมาออกอากาศ ทาง ทรูวิชั่นส์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ภายใต้การดูแลของบริษัท เวรี่ อินคอโปเรชั่น จำกัด ปัจจุบันอยู่ช่องทรูวิชั่นส์ 33ปี นอกจากการออกอากาศทางช่องสถานี เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีกิจกรรมคอนเสิร์ต งานเทศกาลดนตรี อีกทั้งยังมีโครงการและกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ
MTV ออนแอร์ รายการของ MTV ก็ ทำเช่นเดียวกับรายการวิทยุ คือเปิดเพลงฟรี และรอรายรับจากยอดขายโฆษณา โดยมีเงินทุนเพียง 25 ล้านเหรียญ แต่ในตอนแรกๆนั้น ค่ายเพลงต่างๆกลับอิดออดที่จะให้มิวสิกวิดิโอของตนไปเปิดที่ MTV เพราะพวกเขาคิดว่า บริษัทลงทุนผลิตมิวสิกวิดีโอขึ้นมาแพงมาก ในตอนแรก MTV มีมิวสิกวิดีโอเพียงแค่ 250 เพลงเท่านั้น Jack ให้ความเห็นว่า
“พวกค่ายเพลงต่างๆเกลียดเรามาก เพราะพวกเราต้องการที่จะเปิดมิวสิกวิดีโอของพวกเขาฟรีๆ เขาบอกกับเราว่า พวกคุณเดินทางมาผิดซะแล้ว พวกคุณต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการเปิดเพลงให้พวกเขาด้วย”
แต่ค่ายเพลงต่างๆก็ยังคงแบ่งมิวสิกวิดีโอบางส่วนให้กับ MTV ฟรีแต่ก็มีแต่ศิลปินที่ไม่ค่อยจะดังเท่านั้น แต่สำหรับศิลปินดังๆบางคน MTV ก็ยังคงต้องจ่ายค่าสิทธิ์ในการเปิดเพลงอยู่ดี
เมื่อ MTV ถึงเวลาเปิดฉายจริง MTV เลือกที่จะเปิดตัวครั้งแรกพร้อมๆกับการกล่าวด้วยน้ำเสียงแบบฉบับร๊อกแอนด์โรลว่า “ขอเชิญท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมา ร๊อกแอนด์โรลกัน” พร้อมๆกับเปิดมิวสิกวิดีโอ เพลง “Video Killed the Radio Star” ของ The Buggles โดยเริ่มฉายในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 2 สิงหาคม 1981 MTV ประสบ ความสำเร็จอย่างมากจากการเปิดเพลงข้ามวันข้ามคืน หลักฐานก็คือ ศิลปินระดับเกรดรองๆลงไป กลับดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะศิลปินอย่าง Adam Ant และ Billy Idol ที่ถูกเปิดในสถานีวิทยุน้อยมาก แต่ MTV กลับช่วยให้ทั้งคู่ดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว Billy กล่าวถึงปรากฎการณ์ครั้งนั้นว่า
“พวกสถานีวิทยุไม่ยอมเปิดเพลงของผมเลย เพราะมองทรงผม ฟั๊งค์ร๊อก หัวแหลมเปี๊ยบของผม ก็ไม่อยากเปิดเพลงของผมแล้ว แต่หลังจากที่ MTV เริ่ม ออนแอร์ เด็กๆก็เริ่มร้องเพลงผมได้ พวกสถานีจึงเริ่มหันมาเปิดเพลงของผม เกิดมาผมไม่เคยแตะอันดับเพลงชาร์ตกับชาวบ้านเค้าเลย แต่เผลอแผล๊ปเดียว ผมก็มีตั้ง 10 อัลบั้มที่แตะชาร์ต มันมหัศจรรย์มาก และไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน เมื่อผมเดินไปตามท้องถนน ผู้คนจะตะโกนร้องว่า “เฮ้ย Idol ๆๆๆ”” หลังจากนั้น ค่ายเพลงต่างๆก็เริ่มเปิดใจยอมรับ MTVมากขึ้น
การกระตุ้นของ MTV
เมื่อผ่านปีแรกแห่งความยากลำบากไปได้ แต่โฆษณายังคงไม่เข้ามากนัก นั่นเป็นเพราะว่า ยอดผู้ชมรายการยังคงต่ำกว่า 2 ล้านคน พอเข้าปีที่ 2 MTV ก็เริ่มกระตุ้นแบรนด์ด้วยการออกแบบแคมเปญโฆษณาแล้วนำนักร้องระดับซูเปอร์สตาร์มาพูดว่า
“ผมต้องการ MTV” โดยเลือกจะออกโฆษณาไปยังช่องเคเบิลที่ไม่ใช่ MTV โดยซูเปอร์สตาร์คนแรก คือ Mick Jagger ถัดมาก็ยังมีอีกหลายคน เช่น David Bowie สิ่งเหล่านี้ทำให้ยอดขายโฆษณาพุ่งขึ้นไปแตะที่ 2 ล้านเหรียญทันที ถือเป็นกรณีศึกษาด้าน Awareness ที่ดีที่สุด เพราะก่อนออกแคมเปญนี้ ผลการสำรวจผู้คนที่รู้จัก MTV มีแค่ 20% เท่านั้น แต่พอออกแคมเปญไป ผู้คนกลับรู้จัก MTV ถึง 89 % นอกจากนี้ ยังสร้างกระตุ้นโดยการจัดแข่งขันเพื่อชิงรางวัลการ “ใช้ชีวิตสุดสัปดาห์”กับ Van Halen อีกด้วย
การกำเนิดของการฉายมิวสิกวิดีโอนี้ยังช่วยให้ Michael Jackson ได้โชว์ลีลาการเต้นซึ่งช่วยให้เพลง Billie Jean ในอัลบั้ม Thriller มียอดขายมากกว่า 800,000 อัลบั้มต่อสัปดาห์อีกด้วย สิ่งนี้เองที่เป็นสัญญาณเตือนว่า อุตสาหกรรมเพลงกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากการมาของ MTV ต่อมา Michael Jackson เปิดตัวเพลง Night of the living Dead ซึ่ง Michael ต้องแต่งตัวเหมือนซอมบี้ MTV มือไวรีบซื้อสิทธิฉายก่อนเป็นคนแรก โดยได้รับสิทธิเล่น 3 ครั้งต่อวันด้วยจำนวนเงิน 250,000 เหรียญ ส่งผลให้อัลบั้ม Thriller ของ Michael ยอดขายพุ่งทำลายสถิติยอดขายตลอดกาลทันที ถัดมาก็ยังมี Madonna อีกคนที่ใช้มิวสิกวิดีโอผลักดันให้ยอดขายพุ่งอย่างฉุดไม่อยู่ และทำให้ทั้งคู่กลายเป็น ราชาและราชินีเพลงป๊อป
พอปี 1984 เรตติ้งจาก AC Neilsen ชี้ว่า MTV มีโฆษณามากกว่าเฉลี่ยของช่องเคเบิลทั่วไป รายรับปีนี้พุ่งขึ้นมากกว่า 223 % จากปีก่อน ยอดผู้ชมพุ่งไปถึง 21 ล้านครัวเรือน และกลับมาทำตัวเลขเขียวครั้งแรกที่กำไร 3.4 ล้านเหรียญ นอกจากนี้ทุกวันนี้ MTV กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่ออุตสาหกรรมเพลงในประเทศสหรัฐไปโดยปริยาย
รูปแบบและรายการ
รูปแบบรายการตอบสนองไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่น สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของเอ็มทีวีไทยแลนด์คือวัยรุ่นกินอาณาเขตตั้งแต่วัย รุ่นตอนต้น-ตอนปลาย อายุตั้งแต่ 12-25 ปี และกลุ่มเป้าหมายรองคืออายุตั้งแต่ 25-35 ปี[13] โดยมีรูปแบบรายการในส่วนของดนตรี เพลง ศิลปิน ภาพยนตร์ ไลฟ์สไตล์ และรายการเรียลลิตี้โชว์
รายการสด
เอ็มทีวีไทยแลนด์มีรายการสดอยู่ 3 รายการ
• เอ็มทีวีอาฟเตอร์สกูล ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 18.00-19.00 น.
จัดรายการโดย วีเจภูมิ และ วีเจนิกกี้
• เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 20.00-21.00 น. เป็นรายการรีเควสต์เพลงไทยโดยเลือกจาก 60 อันดับที่มีให้มา จัดรายการโดยวีเจอเล็กซ์[14]
• เอ็มทีวีแฟสต์ฟอร์เวิร์ด ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 21.00-22.00 น.เป็นรายการกึ่งทอล์คโชว์ มีรายงานข่าวสารแวดวงดนตรี และ ฮอลลีวู้ด มีหัวข้อเกี่ยวกับภาพยนตร์โดยเฉพาะในวันศุกร์ จัดรายการโดยวีเจเจย์
รายการเฉพาะทาง
วีเจเจน ในรายการ MTV On The Rock
รายการที่เสนอแนวดนตรีแต่ละประเภทต่างๆ เช่น เอ็มทีวีออนเดอะร็อก เป็นรายการเพลงร็อกตั้งแต่แนวฮาร์ดคอร์ เฮฟวี่เมทัล จัดรายการโดยวีเจเจน เอ็มทีวีเดอะครีม รายการเพลงร็อกทันสมัย เพลงร็อกฝั่งอังกฤษ อัลเทอร์เนทีฟ[16] เอ็มทีวีเอเชียดีไลต์ รายการเพลงเอเชีย เปิดเพลงหลายๆ ประเทศในเอเชีย ตั้งแต่ เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน เป็นต้น จัดรายการโดยวีเจนิกกี้ ดาฮิป รายการเพลงแนวฮิปฮอป อาร์แอนด์บี ไม่มีวีเจ[17] เอ็มทีวีสปินน์ รายการเพลงแด๊นซ์ เต้นรำ ทันสมัยที่เปิดในคลับ และ เอ็มทีวีชิลล์เอาต์ เปิดเพลงแนวชิลล์เอาท์ ผ่อนคลาย
อื่นๆ
รายการโดยส่วนใหญ่ จะเปิดมิวสิกวิดีโอโดยไม่มีวีเจ ส่วนรายการที่แนะนำเพลงใหม่ประจำสัปดาห์คือรายการ เอ็มทีวีเดบิวต์ นอกจากนั้นยังมีการจัดอันดับเพลงตามยอดการขอและยอดการเปิดออกอากาศจากทุกๆ รายการในรายการ เอ็มทีวีชาร์ท [18]
เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีรายการนำเสนอข่าวออกอากาศทุกวัน ความยาวประมาณ 10 นาที ในรายการ เอ็มทีวีบัซซ์ [19] และยังมีรายการเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือรายการ เอ็มทีวีสกรีน
รายการต่างประเทศ
8th & Ocean หนึ่งในรายการเรียลลิตี้ทางเอ็มทีวีไทยแลนด์
เอ็มทีวีไทยแลนด์ได้นำเสนอรายการจากต่างประเทศทั้งฝั่งอเมริกา ยุโรปและเอเชีย โดยรายการจากอเมริกาส่วนใหญ่เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ เช่น รายการ พิมป์มายไรด์ เป็นรายการที่แรกเดิมพิธีกรคือ เอกซ์-ซิบิต เป็นรายการนำรถเก่าจากคนทางบ้านมาแต่งใหม่[20] ได้รับความนิยมอย่างมากจนมีเวอร์ชัน เอ็มทีวีพิมป์มายไรด์อินเตอร์เนชันแนล และ พิมป์มายไรด์ยูเค ส่วนรายการที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ พังก์’ด มีพิธีกรคือ แอชตัน คุชเชอร์ ที่สร้างสถานการณ์กลั่นแกล้งคนดัง เป็นรายการประเภทซ่อนกล้อง มีดาราที่ถูกกลั่นแกล้งเช่น จัสติน ทิมเบอร์เลคเอค่อนโจส สโตน เป็นต้น และมีรายการประเภทซ่อนกล้องอีกรายการที่ยั่วโมโหคน คือรายการ บอยลิงพอยต์
รายการเรียลลิตี้โชว์ มีอยู่หลายรายการทั้งเรียลลิตี้โชว์คนดังอย่าง ดิแอชลีซิมป์สันโชว์ ดิออสบอร์นส และ นิวลีเวดส์: นิกแอนด์เจสสิกา ไลฟ์ออฟไรอัน และ รายการประเภทนัดบอดมีอยู่หลายรายการ เช่น รูมไรเดอร์ส เอ็มทีวีสกอร์ ส่วนรายการเรียลลิตี้ประเภทกึ่งสารคดี เช่น เอ็มทีวีทรูไลฟ์ และ เอตธ์แอนด์โอเชียน เป็นต้น ยังมีรายการประเภทแอนิเมชัน เช่น แวส์มายด็อกแอต? และ อูซาวิช เป็นต้น
ส่วนรายการที่ผลิตจากเอ็มทีวี เอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเพื่อสนับสนุน ศิลปินประจำเดือน เช่น เอ็มทีวีแอสก์ ไฟฟ์ติงส์ยูนีดทูโนว์ ท็อปเทนเฟเวอริตส์ เป็นต้น
รายการประเภทการแจกรางวัล ในเอ็มทีวีแต่ละภูมิภาคมักจะมีมอบรางวัลให้กับศิลปิน มิวสิกวิดีโอภาพยนตร์ คือ
• เอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส (MTV Asia Awards)
• เอ็มทีวี วีดีโอ มิวสิก อวอร์ดส (MTV Video Music Awards)
• เอ็มทีวี มูวี่ อวอร์ดส (MTV Movie Awards)
• เอ็มทีวี ยุโรป มิวสิก อวอร์ดส (MTV Europe Music Awards)
• เอ็มทีวี วีดีโอ มิวสิก อวอร์ดส เจแปน (MTV Video Music Awards Japan)
• เอ็มทีวี ออสเตรเลีย วีดีโอ มิวสิก อวอร์ดส (MTV Australia Video Music Awards)
• เอ็มทีวี วีดีโอ มิวสิก อวอร์ด ลาติน อเมริกา (MTV Video Music Awards Latin America)
กลยุทธ์การตลาด
เพื่อรักษาจุดยืนการเป็นแบรนด์แรกในใจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประชากรชาว Gen. Y เอาไว้ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของ Gen. Y ทีม MTV’s Youth Trends Monitor ที่มีหน้าที่เกาะติด ศึกษา ตีความ และ เผยแพร่ ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของวัยรุ่นอย่างใกล้ชิดและจริงจัง จึงจัดทำ ”MTV Switched On” หนังสือรายงานความเป็นไปของวัยรุ่นขึ้น โดยในรายงานแต่เล่มซึ่งจะออกมาทุกๆ ฤดูนั้นจะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ ดนตรี สไตล์ ไลฟ์สไตล์ เทคโนโลยี และ ประเด็นร้อนต่างๆ ที่กำลังฮิตติด Y ชาร์ตทั่วโลกอยู่ในฤดูนั้น นอกจากนั้น MTV ทั่ว โลกก็ให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนไปของผู้รับสารหลักของเขาด้วยการปรับปรุง รายละเอียดของหลายๆ โปรแกรมให้ลงลึกในเชิงข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ได้จริงมากขึ้น เช่น เปลี่ยนจากการนำเสนอแฟชั่นโชว์ และวันว่างของดาราดังไปเป็นการสอนจัดแต่งห้อง และ เลือกซื้อชุดเต้นรำที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้เนื้อหานั้นเหมาะสมและตรงกับสิ่งที่ผู้รับสารชาว Gen Y ต้องการดู ซึ่งก็คืออะไรที่ Practical และมีประโยชน์ต่อตัวเองนั่นเอง
MTV
2008 Rank: 52
2008 Brand Value (Millions): $ 7,193
Parent Company: MTV…. United States
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น